ความแตกต่างระหว่างกฎหมายแรงงานประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น 8

2024.10.25

ความใส่ใจเรื่อง “เวลาเริ่มงาน” ของคนญี่ปุ่น

ในครั้งนี้จะมาพูดถึงเรื่อง “เวลาเริ่มงาน” ที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นพูดถึงอยู่บ่อยครั้งในประเทศญี่ปุ่น และถือโอกาสนี้มาอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเวลาทำงานของประเทศญี่ปุ่นไปพร้อมกับการยกตัวอย่างและอธิบายหลักเกณฑ์รวมถึงแนวคิดในฝั่งของประเทศไทยไปด้วย

กาจัดการเวลาเริ่มงานเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มักมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการแรงงาน และได้รับความสนใจอยู่พอสมควร ระยะหลังมานี้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการแรงงานในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการค้างจ่ายค่าล่วงเวลาที่ถูกยกมาเป็นประเด็นถกกันในเรื่องการจัดการเวลาเริ่มงานว่าควรเริ่มนับเวลาทำงานเมื่อใด

หลักเกณฑ์ในกฎหมายพื้นฐานแรงงานประเทศญี่ปุ่น

ก่อนอื่นมาลองทบทวนเรื่องเวลาการทำงานกัน

หลัก ๆ แล้วหลักเกณฑ์ของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก โดยในประเทศญี่ปุ่น “เวลาการทำงาน” ที่อ้างอิงจากตัวอย่างคดีความในอดีต หรือไกด์ไลน์ของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ระบุไว้ว่า “เป็นสภาพที่อยู่ภายใต้คำสั่งหรือการควบคุมของนายจ้าง”

การอยู่ภายใต้คำสั่งหรือการควบคุมของนายจ้างหรือไม่นั้นจะพิจารณาจากความเกี่ยวข้องกับงาน การเตรียมความพร้อม ความจำเป็นในหน้าที่ว่า “เป็นหน้าที่ที่ถูกกำหนดโดยบริษัทหรือไม่” หรือ “เป็นหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติอย่างเลี่ยงไม่ได้หรือไม่” นอกจากนี้การพิจาณาดังกล่าวไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีการระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือสัญญาจ้างหรือไม่ แต่พิจารณาโดยยึดจากสถานการณ์จริง

หลักเกณฑ์ในพรบ.คุ้มครองแรงงานประเทศไทย

เมื่อลองตีความกฎหมายของประเทศไทยอย่างละเอียดดูก็พบว่า เวลาก่อนเริ่มงานจะถือว่า “อยู่นอกเวลาทำงานและไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งหรือการควบคุมของนายจ้าง” โดยประเทศญี่ปุ่นเองก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันนี้เช่นกัน ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่าหลักเกณฑ์การคิดและพิจารณาของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกัน

การเรียกชุมนุมก่อนเริ่มงานผิดกฎหมายหรือไม่

ตัวอย่างหนึ่งที่กำหนดแนวทางการจัดการเวลาเริ่มงานยากก็คือ การเรียกชุมนุมก่อนเริ่มงาน (โชเร)

หากมีการเรียกชุมนุมเวลา 8:50 น. เพื่อให้ทันเริ่มงานตอน 9:00 น. กรณีดังกล่าวนี้ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

การเรียกชุมนุมก่อนเริ่มงานจะไม่ได้ผิดกฎหมายในทันที แต่หากมีการกำหนดข้อบังคับให้ต้องเข้าร่วม มีการตักเตือนหรือกำหนดบทลงโทษในกรณีเข้าร่วมการชุมนุมสายแล้วล่ะก็การเรียกชุมนุมก่อนเริ่มงานนี้ก็จะถือว่าผิดกฎหมายทันที โดยหากต้องการเรียกชุมนุมในลักษณะนี้ก็แนะนำว่าควรเรียกชุมนุมหลังจากเริ่มนับเวลางานแล้วจะดีกว่า

แนวทางการป้องกันปัญหา

สถานการณ์ในกรณีตัวอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทุกคนกำลังคิดว่า “ก็เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อกันมา แถมพนักงานเองก็ไม่ได้บ่นอะไร” อยู่หรือไม่ ?

ประเทศญี่ปุ่นเอง ในสมัยก่อนก็เคยมีการกำหนดเวลาเริ่มงานที่คลุมเครือไม่ชัดเจน มีการปัดเวลาการทำงาน 5-10 นาทีเป็นเรื่องปกติ แต่ในปัจจุบันหลาย ๆ บริษัทก็เปลี่ยนมาปฏิบัติตามกฎหมายกันอย่างถูกต้องและเคร่งครัดกันมากขึ้น

ส่วนในประเทศไทยมีปัญหาการจัดการแรงงานที่เกี่ยวกับ “การเลิกจ้าง” เป็นส่วนใหญ่ก็จริง แต่ในอนาคตพนักงานก็อาจจะมีความตระหนักรู้ต่อปัญหามากขึ้น

หากปล่อยปะละเลยและไม่มีการเตรียมมาตรการรับมือกับปัญหาเอาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีความเสี่ยงจากปัญหาด้านการเงิน เช่น การเรียกร้องค่าชดเชย และในระยะหลังมานี้ก็มีกรณีที่พนักงานนำเรื่องปัญหาการจัดการแรงงานของบริษัทไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจส่งผลต่อการสรรหาบุคลากร รวมไปถึงการบริหารจัดการภายในบริษัทด้วย

ดังนั้นแล้วบริษัทจึงควรที่จะพิจารณาทบทวนธรรมเนียมปฏิบัติเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง

นอกจากการพิจารณาทบทวนแล้ว ก็ควรระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้างานก่อนเวลาเริ่มงาน หรือการเตรียมพร้อมก่อนเวลาเริ่มงานไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ชัดเจน และแจ้งให้พนักงานรับทราบโดยทั่วกัน

ควรจัดการอย่างไรจึงจะเหมาะสม ?

จากที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า ต้นเหตุของปัญหามาจากการบังคับให้เข้าร่วมชุมนุมก่อนเวลาเริ่มงาน (โชเร) แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวลาเริ่มงานอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น

พนักงาน A: เวลาเริ่มงานคือ 9:00 น. แต่อยากเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเช้า จึงมาถึงที่ทำงานและลงเวลาเข้างานตั้งแต่ 8:00 น. โดยในช่วงเวลาดังกล่าวพนักงาน A ไม่ได้ทำงาน แต่นั่งดื่มกาแฟ และอ่านหนังสือพิมพ์รอจนถึงเวลาเริ่มงาน

พนักงาน B: เวลาเริ่มงานคือ 9:00 น. แต่มาเริ่มงานตั้งแต่ 8:00 เนื่องจากมีนัดพูดคุยกับลูกค้า

ทั้งพนักงาน A และพนักงาน B ต่างก็มาถึงออฟฟิศเวลา 8:00 น. ทั้งคู่ ถึงพนักงาน A มาถึงแล้วไม่ได้ทำงาน แต่เนื่องจากมีการบันทึกเวลาเข้างาน ทำให้เวลาการทำงานของพนักงาน A เริ่มนับตั้งแต่  8:00 น. เช่นกัน

หากคิดในมุมมองของฝ่ายบุคคลแล้ว ก็คงอยากให้จัดการโดยที่ “ไม่นับเวลาการทำงานของพนักงาน A และนับเวลาการทำงานพนักงาน B คนเดียว” ใช่หรือไม่ แล้วทุกคนล่ะคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง ?

KING OF TIME ระบบดูแลจัดการเวลาเข้า-ออกงานผ่านคลาวด์

ถึงตรงนี้ผู้เขียนก็อยากจะขอแนะนำฟังก์ชัน “ขออนุมัติการทำงานก่อนเวลาเริ่มงาน” ของระบบ KING OF TIME ให้ทุกท่านได้รู้จักกันครับ ฟังก์ชันนี้ถึงแม้ว่าจะกดบันทึกเวลาเริ่มงานก่อน 9:00 น. แต่หากไม่ได้ขออนุมัติบันทึกเวลาเข้างาน เวลาดังกล่าวก็จะไม่ถูกนับเป็นเวลาทำงาน และในกรณีพนักงาน B ที่เริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 8:00 น. จริง ๆ ก็สามารถขออนุมัติบันทึกเวลาเข้างานเพื่อให้นับเป็นเวลาทำงานได้ 

กลับกันในกรณีพนักงาน A หากยื่นขออนุมัติบันทึกเวลาเข้างานมา ผู้ดูแล (แอดมิน) ก็สามารถเลือกไม่อนุมัติคำขอให้พนักงาน A ได้ และสามารถระบุเหตุผลในการปฏิเสธคำขอได้อีกด้วย

ถึงแม้ว่าตัวระบบและฟังก์ชันดังกล่าวนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน แต่หากนำมาใช้งานโดยไม่ศึกษาหรือทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

ดังนั้นแล้วจะต้องทำให้พนักงานรวมถึงผู้ดูแล (แอดมิน) มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานตัวระบบเป็นอย่างดี มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรได้นั่นเอง

เขียนและเรียบเรียง
Mr. Sakae Baba
Social Insurance and Labor Consultant in Japan
แปล
Mr. Chanayut Kao-ian

แปลจาก: タイ労働法と日本労働法の違い⑧