ความแตกต่างระหว่างกฎหมายแรงงานประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น 3

2024.9.3

ความแตกต่างของการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานกะกลางคืน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

กฎหมายแรงงานขั้นพื้นฐานประเทศญี่ปุ่น บัญญัติเกี่ยวกับวันหยุดไว้ว่า “ลูกจ้างจะต้องมีวันหยุดอย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์ หรือสี่วันขึ้นไปต่อหนึ่งเดือน” แต่ในความเป็นจริงสภาพโดยรวมของวันหยุดในประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างไร มาลองดูผลสำรวจจาก “แบบสอบถามทั่วไปเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานประจำปี พ.ศ. 2564” เพื่อประกอบการอธิบายกัน

จากผลสำรวจพบว่า บริษัทที่ใช้ระบบวันหยุด 1 – 2 วันต่อสัปดาห์มี 83.5% ใช้ระบบวันหยุด 2 วันต่อสัปดาห์มี 48.4% และใช้ระบบวันหยุด 1 วันต่อสัปดาห์มี 8%

แล้วสภาพจริงของวันหยุดในประเทศไทยเป็นอย่างไรกัน

วันหยุดและการทำงานกะกลางคืนของประเทศไทย

ในประเทศไทยกำหนดให้ต้องมีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่กำหนดให้มีวันหยุด 1 วันต่อสัปดาห์ ถึงกระนั้นระยะหลังมานี้โรงงานที่ปรับให้มีวันหยุด 2 วันต่อสัปดาห์ก็มีไม่น้อยเช่นกัน และจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้หน่วยงานราชการรวมถึงโรงเรียนรัฐมีวันหยุด 2 วันต่อสัปดาห์ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์

นอกจากนี้ กฎหมายแรงงานประเทศไทยไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนพิเศษในการทำงานกะกลางคืนไว้ ถึงกระนั้นโรงงานที่มีหลายกะงาน มักจะมีการพิจารณาให้มีสวัสดิการเพิ่มเติมเป็นเบี้ยเลี้ยงสำหรับการทำงานกะกลางคืนแทน

อัตราค่าตอบแทนที่กำหนดไว้สำหรับการทำงานนอกเวลาของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

อัตราค่าตอบแทนที่กำหนดไว้สำหรับการทำงานนอกเวลาของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นสรุปไว้ดังตารางด้านล่างนี้

กรณีทำงานล่วงเวลากรณีทำงานวันหยุดกรณีทำงานกะกลางคืน
ประเทศญี่ปุ่น1.25
(หากเกิน 60 ชั่วโมง +0.25)
1.350.25
ประเทศไทย1.52.0ไม่มี

※กรณีเป็นพนักงานประจำจะได้รับค่าจ้างในอัตรา 1.0 เท่า ส่วนกรณีเป็นพนักงานรายชั่วโมงหรือรายวันจะได้รับค่าจ้างในอัตรา 2.0 เท่า

ทีนี้มาลองดูตัวอย่างสถานการณ์จริง โดยอ้างอิงจากข้อมูลข้างต้นกัน

เกณฑ์การคิดค่าตอบแทนสำหรับการทำงานนอกเวลาการทำงานที่กำหนดของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

ตามที่ได้อธิบายไปในบทความก่อนหน้า กฎหมายแรงงานประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้มีเวลาทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนกฎหมายแรงงานประเทศไทยกำหนดให้มีเวลาทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลากรณีที่ทำงานเกินเวลาดังกล่าว ถึงกระนั้น พรบ. คุ้มครองแรงงานประเทศไทย มีข้อบัญญัติไว้ว่า “หากมีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ตราบใดที่เวลาการทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สามารถให้ลูกจ้างทำงาน 9 ชั่วโมงต่อวันได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา”

โดยสรุปแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ในเรื่องของเวลาการทำงานที่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่ไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ก็ยังจำเป็นจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้างด้วย

ค่าตอบแทนกรณีทำงานในวันหยุดของประเทศญี่ปุ่น

ก่อนอื่นมาลองยกตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นกัน กรณีบริษัทมีวันหยุดตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ และให้พนักงานมาทำงานในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์วันใดวันหนึ่ง อัตราค่าตอบแทนในกรณีนี้จะเท่ากับอัตราค่าตอบแทนในการทำล่วงเวลาปกติที่ 1.25 เท่า โดยการทำงานในวันหยุดอัตราค่าตอบแทนจะไม่ได้อยู่ที่ 1.35 เท่าเสมอไป

ตัวอย่าง

จันทร์อังคารพุธพฤหัสศุกร์เสาร์อาทิตย์
ชั่วโมงทำงาน9 ชั่วโมง10 ชั่วโมง8 ชั่วโมง8 ชั่วโมง9 ชั่วโมง8 ชั่วโมงวันหยุด
ชั่วโมงทำงานล่วงเวลา1 ชั่วโมง2 ชั่วโมง0 ชั่วโมง0 ชั่วโมง1 ชั่วโมง1 ชั่วโมงวันหยุด
อัตราค่าตอบแทน1.251.25001.251.25

แน่นอนว่า บริษัทที่กำหนดให้หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และให้พนักงานมาทำงานในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์โดยจ่ายค่าตอบแทนในอัตรา 1.35 เท่าก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยอัตราค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับว่าวันหยุดดังกล่าวเป็นวันหยุดตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

อัตราค่าตอบแทนจากการทำงานในวันหยุดของประเทศไทยขึ้นอยู่กับระบบการให้เงินเดือน

อัตราค่าตอบแทนสำหรับการทำงานในวันหยุดของประเทศไทยคือ 1.0 เท่า (เวลาทำงานปกติ) สำหรับพนักงานประจำ (พนักงานรายเดือน) ค่าตอบแทนสำหรับการทำงานวันหยุดจะถูกรวมอยู่ในเงินเดือนด้วย โดยรวมแล้วอัตราค่าตอบแทนในการทำงานวันหยุดจึงกลายเป็น 2.0 เท่านั่นเอง

นอกจากนี้ วันหยุดตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด บริษัทมีสิทธิกำหนดได้ว่าจะให้ตรงกับวันไหน ตัวอย่างเช่น กรณีที่บริษัทกำหนดให้วันเสาร์เป็นวันหยุด ถึงแม้ว่าเวลาการทำงานในสัปดาห์จะยังไม่เกิน 48 ชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนด หากมีการทำงานในวันเสาร์ก็จำเป็นจะต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติมในอัตรา 1.0 เท่า ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในกรณีดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง อัตราค่าตอบแทนตามที่กฎหมายแรงงานประเทศไทยกำหนด (กรณีพนักงานรายเดือน มีวันหยุดวันอาทิตย์วันเดียว)

จันทร์อังคารพุธพฤหัสศุกร์เสาร์อาทิตย์
ชั่วโมงทำงาน9 ชั่วโมง10 ชั่วโมง8 ชั่วโมง8 ชั่วโมง9 ชั่วโมง4 ชั่วโมง4 ชั่วโมง
ชั่วโมงทำงานล่วงเวลา1 ชั่วโมง2 ชั่วโมง0 ชั่วโมง0 ชั่วโมง1 ชั่วโมง4 ชั่วโมง4 ชั่วโมง
อัตราค่าตอบแทน1.51.5001.50 (※)1.0

※วันเสาร์เป็นเวลาทำงานที่ยังไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นการทำงาน 4 ชั่วโมงในวันเสาร์จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติม ส่วนวันอาทิตย์เข้าเกณฑ์ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานวันหยุด จึงจำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติมในอัตรา 1.0 เท่า

ในทางกลับกัน กรณีลูกจ้างชั่วคราวอย่างเช่นพนักงานพาร์ทไทม์ โดยพื้นฐานแล้วค่าตอบแทนที่ได้จะจ่ายเป็นรายชั่วโมง ดังนั้นอัตราค่าตอบแทนจากการทำงานล่วงเวลาจะต้องจ่ายในอัตรา 2.0 เท่า

แล้วกรณีมีการทำล่วงเวลาในการทำงานวันหยุด อัตราค่าตอบแทนจะเป็นแบบใดกัน

กรณีนี้ประเทศญี่ปุ่นจะจ่ายค่าตอบแทนในอัตรา 1.35 เท่า แต่ประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือพนักงานพาร์ทไทม์ ก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมในอัตรา 3.0 เท่า

ตัวอย่าง อัตราค่าตอบแทนตามที่กฎหมายแรงงานประเทศไทยกำหนด (กรณีรับค่าตอบแทนรายวัน และหยุดวันเสาร์-อาทิตย์)

จันทร์อังคารพุธพฤหัสศุกร์เสาร์อาทิตย์
ชั่วโมงทำงาน9 ชั่วโมง10 ชั่วโมง8 ชั่วโมง8 ชั่วโมง9 ชั่วโมง10 ชั่วโมงวันหยุด
ชั่วโมงทำงานล่วงเวลา1 ชั่วโมง2 ชั่วโมง0 ชั่วโมง0 ชั่วโมง1 ชั่วโมง10 ชั่วโมงวันหยุด
อัตราค่าตอบแทน1.51.5001.5※2

※ 2. เวลาการทำงานในวันเสาร์ 10 ชั่วโมง 8 ชั่วโมงแรกเป็นชั่วโมงการทำงานในเวลาการทำงานปกติ จะได้รับค่าตอบแทนในอัตรา 2.0 เท่า และชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาอีก 2 ชั่วโมงจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมในอัตรา 3.0 เท่า เนื่องจากเป็นการทำงานนอกเหนือเวลาการทำงานปกติ

ถึงตรงนี้ คิดว่าผู้อ่านน่าจะเข้าใจแนวคิดในเรื่องเวลาการทำงานของประเทศไทยกันแล้ว ดังนั้นจึงจะต้องระมัดระวังในเรื่องของการคำนวณเวลาการทำงานให้ดีด้วย

เขียนและเรียบเรียง
Mr. Sakae Baba
Social Insurance and Labor Consultant in Japan

แปลจาก: タイ労働法と日本労働法の違い③

แปล
Mr. Chanayut Kao-ian