2024.9.9
ความแตกต่างและข้อควรรู้เกี่ยวกับวันลาพักร้อน (Annual Leave) ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
ถึงแม้ว่ากฎหมายแรงงานประเทศไทยและกฎหมายแรงงานประเทศญี่ปุ่นจะมีหลายจุดที่คล้ายคลึงกันอย่างเช่น ข้อกำหนดเรื่องเวลาการทำงาน เป็นต้น แต่ในด้านการใช้งานจริงนั้นค่อนข้างแตกต่างกันอยู่พอสมควรเลย บทความในวันนี้จะมาไล่เรียงกันในเรื่องของวันลาพักร้อนกันครับ
ลูกจ้างทุกคนในประเทศญี่ปุ่นมีสิทธิได้รับวันลาพักร้อนตามกฎหมาย
โดยทั่วไป ในประเทศญี่ปุ่นหากทำงานครบ 6 เดือน และมีวันทำงาน 80% ของจำนวนวันทำงานที่กำหนดก็จะได้สิทธิวันลาพักร้อน เบื้องต้นหลังจากทำงานครบ 6 เดือนจะได้รับสิทธิวันลา 10 วัน ครบ 1 ปีครึ่งจะได้รับสิทธิวันลา 11 วัน ครบ 2 ปีครึ่งจะได้รับสิทธิวันลา 12 วัน เพิ่มขึ้นในลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ จนเมื่อครบ 6 ปีครึ่งก็จะได้รับวันลาอยู่ที่ 20 วัน
อายุงาน (ปี) | 0.5 | 1.5 | 2.5 | 3.5 | 4.5 | 5.5 | 6.5 |
สิทธิวันลาที่ได้รับ | 10 วัน | 11 วัน | 12 วัน | 14 วัน | 16 วัน | 18 วัน | 20 วัน |
สิทธิวันลาพักร้อนสำหรับพนักงานพาร์ทไทม์หรือลูกจ้างชั่วคราว
ตามที่ได้กล่าวไปในย่อหน้าที่แล้วว่า ลูกจ้างทุกคนในประเทศญี่ปุ่นมีสิทธิได้รับวันลาตามกฎหมาย หากมีวันทำงาน 80% ของวันทำงานที่กำหนด
ถ้าทำงานก็ต้องได้รับสิทธิวันลาพักร้อน กลุ่มลูกจ้างชั่วคราวก็เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้เงื่อนไขและจำนวนวันที่ได้รับก็จะแตกต่างกับของกลุ่มพนักงานประจำ
การให้สิทธิวันลาตามสัดส่วน จะมอบสิทธิวันลาให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานไม่เกิน 4 วันต่อสัปดาห์ และมีเวลาทำงานน้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ก็มักจะมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับการให้สิทธิ์วันลาแก่ลูกจ้างชั่วคราวที่มีเวลาทำงานมากกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ตัวอย่างเช่น กรณีที่ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน 4 วันต่อสัปดาห์ เมื่อทำงานครบ 6 เดือนจะได้รับสิทธิวันลาพักร้อน 10 วัน
ปัจจัยสำคัญของระบบวันลาพักร้อนในประเทศไทย
สิทธิวันลาพักร้อนของประเทศไทยมีรูปแบบที่แตกต่างจากประเทศญี่ปุ่นคือ จำนวนวันลาไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอายุงาน พรบ. คุ้มครองแรงงานประเทศไทยกำหนดให้ลูกจ้างได้รับสิทธิวันลาพักร้อน 6 วันเมื่อทำงานครบ 1 ปี ทั้งนี้นายจ้างสามารถให้สิทธิวันลาก่อนครบ 1 ปีหรือให้สิทธิวันลามากกว่า 6 วันก็ได้เช่นกัน
แต่ข้อที่แตกต่างกับระบบวันลาของประเทศญี่ปุ่นบบเห็นได้ชัดก็คือ พรบ. คุ้มครองแรงงานประเทศไทย กำหนดให้คุ้มครองสิทธิการลาแก่ “ผู้มีสิทธิเป็นผู้ประกันตนในประกันสังคม” และไม่คุ้มครองสิทธิการลาแก่ผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน (กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว) กล่าวคือกลุ่มลูกจ้างชั่วคราวไม่ได้สิทธิวันลาพักร้อนนั่นเอง
จำนวนวันทำงาน ต่อสัปดาห์ |
จำนวนวันทำงาน ใน 1 ปี |
อายุงาน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
0.5 | 1.5 | 2.5 | 3.5 | 4.5 | 5.5 | 6.5 | |||
สิทธิวันลา ที่ได้รับ |
4 วัน | 169~216 | 7 | 8 | 9 | 10 | 12 | 13 | 14, 15 |
3 วัน | 121~168 | 5 | 6 | 6 | 8 | 9 | 10 | 11 | |
2 วัน | 73~120 | 3 | 4 | 4 | 5 | 6 | 6 | 7 | |
1 วัน | 48~72 | 1 | 2 | 2 | 2 | 3 | 3 | 3 |
สิทธิการลาพักร้อนของประเทศไทยขึ้นอยู่กับกฎบริษัทด้วยเช่นกัน
แนวคิดที่ค่อนข้างแตกต่างกับกฎหมายแรงงานประเทศญี่ปุ่น คือ ประเทศไทยสามารถนำสิทธิวันลาคงเหลือแลกเป็นเงินชดเชยได้ โดยในประเทศญี่ปุ่นไม่มีแนวคิดดังกล่าวนี้ จึงเป็นจุดหนึ่งที่ค่อนข้างต่างกับกฎหมายแรงงานประเทศไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กรณีที่มีวันลาคงเหลือ ก็สามารถยกยอดไปสะสมในปีถัดไปได้ด้วยเช่นกัน
ซึ่งในจุดนี้บริษัทต้องตั้งกฎขึ้นมาให้ชัดเจนด้วย
- ได้รับเงินชดเชยในส่วนของวันลาพักร้อนที่เหลืออยู่
- ยกยอดวันลาพักร้อนที่เหลืออยู่ไปสะสมในปีถัดไป และกรณีที่ใช้วันลาไม่หมดจะได้รับเงินชดเชยในส่วนของวันที่เหลืออยู่
พนักงานที่ลาออกมีสิทธิได้รับเงินชดเชยในส่วนของวันลาคงเหลือ
จากกรณีที่กล่าวไปก่อนหน้า เป็นการจัดการวันลาคงเหลือของพนักงานที่ยังคงสภาพพนักงานอยู่ แล้วในกรณีของพนักงานที่ลาออกมีการจัดการวันลาคงเหลืออย่างไร ปี พ.ศ. 2551 มีการพิจารณาแก้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ดังต่อไปนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยในส่วนของวันลาคงเหลือแก่พนักงานที่ลาออก
กรณีพนักงานลาออกหลังได้รับสิทธิลาพักร้อน
ตัวอย่างเช่น กรณีได้อนุมัติสิทธิวันลาพักร้อนวันที่ 1 เมษายน และลาออกวันที่ 30 เมษายน จะได้รับสิทธิลา 6 วัน กรณีดังกล่าวตามกฎหมายแรงงานประเทศญี่ปุ่น ลูกจ้างจะได้รับสิทธิลาตามที่กำหนด คือ 6 วัน ส่วนพรบ. คุ้มครองแรงงานประเทศไทยกำหนดให้ใช้วิธีคำนวณสิทธิการลาจากระยะเวลาการทำงานตามสัดส่วน (Pro rate)
วันลาพักร้อนที่คำนวณจากระยะเวลาการทำงานตามสัดส่วน
สำหรับพนักงานที่ลาออกนายจ้างจะให้สิทธิลาพักร้อนโดยคำนวณจากระยะเวลาการทำงานตามสัดส่วน หรือการคำนวณแบบ Pro rate
ตัวอย่างเช่น พรบ. คุ้มครองแรงงานประเทศไทย ลูกจ้างมีสิทธิวันลาพักร้อนอย่างน้อย 6 วัน และคำนวณสิทธิวันลาจากระยะเวลาการทำงานตามสัดส่วน ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายก็คือ ใน 1 ปี (12 เดือน) มีสิทธิวันลาพักร้อน 6 วัน เท่ากับว่าทำงานครบ 2 เดือนก็จะได้สิทธิวันลา 1 วัน ดังนั้นจากกรณีที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ลูกจ้างได้สิทธิลาพักร้อนวันที่ 1 เมษายน และลาออกวันที่ 30 เมษายน ระยะเวลาการทำงานคือ 1 เดือน ลูกจ้างรายนี้จึงจะได้สิทธิลาพักร้อนเป็นจำนวน 0.5 วันนั่นเอง
วิธีการคำนวณ
จำนวนเดือน 12 เดือน ÷ จำนวนสิทธิลาพักร้อน 6 วัน = 0.5 วัน/เดือน
จากกรณีนี้จะเห็นว่ากฎหมายประเทศไทยนั้นค่อนข้างยืดหยุ่น และการตั้งกฎระเบียบของบริษัท ตราบเท่าที่กฎระเบียบที่ตั้งขึ้นมาไม่ขัดต่อข้อกฎหมายก็ไม่เป็นปัญหาอะไร
การที่จะทำให้แนวคิดนี้เป็นจริงได้ จะต้องมีการกำหนดข้อบังคับในการทำงาน และแจ้งให้ลูกจ้างรับทราบโดยทั่วกัน
ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ต้องทำตามกระบวนการข้างต้นเช่นกัน แต่ในกรณีของประเทศไทยจำเป็นต้องไตร่ตรองถึงเนื้อหาที่จะกำหนดไว้ในข้อบังคับในการทำงานให้ถี่ถ้วนเป็นพิเศษ
แปลจาก: タイ労働法と日本労働法の違い④