เตรียมยื่นภาษีปี 2567 ไม่ยากอย่างที่คิด ภงด90/91 ยื่นอย่างไร

2024.2.6

เป็นมนุษย์เงินเดือน ก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษี 

บทความนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับพนักงานเงินเดือนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าค่ะ

ถึงหน้าเว็ปไซต์จะมีการอัพเดตบ่อย เนื้อหาที่ต้องกรอกก็ไม่ต่างจากเดิมค่ะ

ทำไมต้องส่ง ภงด90/91 ภ.ง.ด. คืออะไร?

ภาษีเงินได้ หรือ ภ.ง.ด. เป็นการชำระภาษีในรูปแบบหนึ่งและจัดอยู่ในหมวดหมู่แหล่งที่มาของรายได้ ซึ่งผู้ที่จะต้องชำระภาษี จะต้องมีการยื่นแบบภาษีเงินได้ในทุก ๆ ปี เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานการเสียภาษีตามกฎหมาย โดยเราสามารถแยกประเภทของภาษีเงินได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภ.ง.ด. 90/91 เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?

– ภ.ง.ด. 90 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่น รายได้จากกิจการของตัวเอง หรือ จากการลงทุน  โดย ภ.ง.ด. 90 จะเป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ถึง (8) หลายประเภทหรือประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภายใน 31 มีนาคมของทุกปี

– ภ.ง.ด. 91 คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างงานโดยมีนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงิน หรือ กล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว โดย ภ.ง.ด. 91 เป็นแบบแสดงรายการเงินได้บุคคลธรรมดา สําหรับคนที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียว ที่ได้จากการจ้างงาน จะต้องยื่นแบบภายใน 31 มีนาคมของทุกปี

ภ.ง.ด. 90/91 ทั้ง 2 ประเภทเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกันและถือว่าเป็นภาษีที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าคุณมีแหล่งที่มาของรายได้เป็นอย่างไร เพื่อที่จะยื่นแบบไม่ผิดพลาดในตอนท้าย หรือสามารถจำง่าย ๆ ได้ว่า รายได้ที่มาจากแหล่งอื่น คือ ภ.ง.ด. 90 ส่วนรายได้ที่ได้รับเป็นรายเดือนจากการเป็นพนักงาน หรือที่เรียกว่า ”เงินเดือน” คือ ภ.ง.ด. 91

ทำไมต้องยื่นแบบฯ?

การยื่นแบบเป็นการแสดงแหล่งที่มาของรายได้ของเราเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ในบางกรณีอาจจะได้เงินคืนจากกรมสรรพากรด้วยเช่นกัน หากมีการชำระภาษีเกิน การยื่นแบบจะเริ่มหลังจากได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ที่แจงรายละเอียดสรุปรายได้ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง หรือโบนัสจากทางบริษัทฯ เราจะต้องนำมาคำนวณภาษีเพื่อกรอกลงแบบฟอร์ม และหากมีเอกสารลดหย่อนภาษีต่าง ๆ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือจะเป็นประกันชีวิต หรือ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามเงื่อนไขของรัฐบาล สามารถนำมาคำนวณร่วมได้ด้วยเช่นกัน

จะเกิดอะไรหากไม่ยื่นแบบฯ และ เรื่องที่พึงระวัง

ในกรณียื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 เมื่อพ้นกำหนดเวลา หรือไม่ได้ยื่นแบบฯ จะต้องชำระค่าปรับกับกรมสรรพากร โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปีหรือยื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา

– ค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้

2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 /91 ผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ

– หากไม่ได้ชำระเงินภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี ถือว่าไม่ได้ยื่นแบบฯ  ผู้เสียภาษีจะต้องไปยื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา  และชำระเงินภาษีและเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1

3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 เกินกำหนดเวลา

3.1  กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ  ให้ชำระเงินภาษีและเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1

3.2  กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ  ให้ชำระค่าปรับตามข้อ 1 เพียงอย่างเดียว

4. ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ

4.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ  ให้ชำระเงินภาษีและเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ

4.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ  ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ

(ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมสรรพกร)


ยื่นภาษีปี 2567 ทางออนไลน์ง่ายๆ เพียงเข้าสู่ระบบจากในเว็ปไซต์ของกรมสรรพากรแล้วกดยื่นแบบ

สำหรับบริษัทที่ยังปวดหัวกับการคำนวณเงินเดือน การจัดเก็บข้อมูลรายเดือนและรายปี ทางเรามีบริการ BPO Service ซึ่งเป็นบริการที่จะดูแลคุณตั้งแต่การเข้างานออกงานของพนักงาน การอนุมัติผ่านระบบ จัดการวันลา จัดการการเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปจนถึงการคำนวณเงินเดือน ออก payslip เลยค่ะ ไม่ต้องห่วงเรื่องการคำนวณเองที่มีโอกาสพลาดเยอะแล้ว

สำหรับบริการตั้งแต่ลงเวลาไปจนถึงคำนวณเงินเดือนของเรา จะมีเจ้าหน้าที่คอยซัพพอร์ตตลอดการใช้งาน

ไม่ต้องกลัวไม่รู้เรื่องหรือโดนปล่อยทิ้งกลางทางนะคะ

สนใจทดลองใช้งานติดต่อที่นี่

เรายืนดีให้บริการคุณอย่างเต็มที่ค่ะ