ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับ “วันลาป่วย”

2025.3.24

ในสองบทความก่อนหน้านี้ เราก็ได้พูดคุยเกี่ยวกับเงินดเชยเลิกจ้างกันไปแล้ว

ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง “วันลาป่วย” ซึ่งเป็นระบบวันลาที่พบเห็นได้บ่อยในประเทศแถบเอเชียตะวันนออกเฉียงใต้

การลาหยุดเนื่องจากเจ็บป่วยนั้นไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น โดยทั่วไปแล้วการลาหยุดจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างพนักงานและบริษัทว่าจะให้เป็นการขาดงานหรือพนักงานใช้วันลาพักร้อนเพื่อหยุดพักเอง

แต่ในประเทศไทยนั้น พรบ.คุ้มครองแรงงานกำหนดให้การลาหยุดเนื่องจากเจ็บป่วยเป็นการลาหยุดที่พนักงานพึงได้รับตามกฎหมาย

ก่อนอื่นเรามาลองไล่เรียงดูรายละเอียดเกี่ยวกับวันลาหยุด และข้อขัดแย้งหรือปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ กัน

การลาป่วยเป็นการลาแบบใด

ก่อนอื่นเลยการลาป่วยนั้นเป็น “สิทธิการลาที่พึงได้รับตามกฎหมายแรงงงาน” โดยสิทธิการลาที่พึงได้รับตามกฎหมายแรงงานนี้มีระบุไว้ในพรบ.คุ้มครองแรงงาน มีทั้งหมดด้วยกัน 7 ประเภท รวมถึงสิทธิการลาป่วยด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วสิทธิการลาตามกฎหมายเหล่านี้จะเป็นการลาที่ได้รับค่าจ้าง ทีนี้มาลองดูรายละเอียดเกี่ยวกับการลาป่วยกันครับ

“การลาป่วย” เป็นสิทธิที่ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการลาหยุดงานเพื่อทำการรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุที่ทำให้ไม่สามารถมาทำงานได้ตามปกติ โดยสิทธิลาป่วยนี้พรบ.คุ้มครองแรงงานกำหนดให้พนักงานสามารถลาป่วยได้ตามระยะเวลาที่ป่วยจริงโดยที่จะยังคงได้รับเงินเดือนเป็นเวลา 30 วันต่อปี แต่ในกรณีที่มีการใช้วันลาป่วยเกินกว่า 30 วัน พนักงานยังคงสามารถลาหยุดได้เพียงแต่บริษัทสามารถให้เป็นการลาหยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างได้

แต่หากมีการลาป่วยติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป บริษัทสามารถขอให้พนักงานแสดงใบรับรองแพทย์ได้ด้วยเช่นกัน

และเนื่องจากวันลาป่วยเป็นการลาที่ได้รับค่าจ้างเช่นเดียวกับวันลาพักร้อน สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วจึงมักจะสับสนกับวันลาทั้งสองประเภทนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่ก็มีข้อสัเกตถึงความแตกต่างของวันลาทั้งสองประเภทดังต่อไปนี้

  • วันลาพักร้อนสามารถยื่นขอลาได้โดยไม่จำกัดเหตุผล แต่วันลาป่วยสามารถจำกัดเหตุผลในการยื่นขอลาได้
  • กรณีที่ใช้วันลาไม่หมดและมีวันลาคงเหลือ สำหรับวันลาพักร้อนจะให้มีการซื้อคืนสิทธิวันลาได้ แต่สำหรับวันลาป่วยนั้นไม่สามารถซื้อคืนได้

ในส่วนของการซื้อคืนสิทธิวันลาพักร้อน เราเคยพูดคุยกันไปในบทความก่อนหน้าแล้ว สามารถไปย้อนอ่านกันได้นะครับ

บทความฉบับแปลภาษาไทยวันที่ 13 พฤศจิกายน 2024: “ระบบซื้อคืนสิทธิวันลาพักร้อนคงเหลือ” ของประเทศไทยที่ไม่มีในประเทศญี่ปุ่น

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวันหยุดมีอะไรบ้าง

ปัญหาเกี่ยวกับวันหยุดที่มักพบบ่อยในประเทศไทย คือ “ปัญหาการจัดการกับพนักงานที่ใช้วันลาป่วยอย่างไม่เหมาะสม” เนื่องจากวันลาป่วยเป็นสิทธิวันลาตามกฎหมายที่สามารถให้พนักงานลาป่วยได้ตามจริง และเป็นการลาแบบได้รับเงินเดือนที่ 30 วัน จึงมีพนักงานบางส่วนที่มีคิดว่า “ปีนึงมีวันลาป่วย 30 วัน รวมกับวันลาพักร้อนอีก 6 วันด้วยแล้วก็มีวันลาเอาไว้ใช้ลาหยุดตั้ง 36 วัน”  

และด้วยความที่การลาป่วยไม่สามารถคาดการณ์หรือรู้ล่วงหน้าได้ หากพนักงานลาป่วยกะทันหันหรือลาป่วยบ่อยครั้งก็อาจทำให้กระทบต่อการทำงานโดยรวมได้

นอกจากนี้ บริษัทสามารถขอให้พนักงานแสดงใบรับรองแพทย์ได้ในกรณีที่มีการลาป่วยติดต่อกัน 3 วันขึ้นไปได้เท่านั้น ดั้งนั้นแล้วหากพนักงานยื่นขอลาป่วยมา 2 วัน ถึงแม้จะไม่มีใบรับรองแพทย์แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธหรือห้ามไม่ให้พนักงานลาป่วยได้ และถึงแม้ว่าพนักงานจะลาป่วยอยู่บ่อยครั้ง แต่หากการลาป่วยยังอยู่ในขอบเขตที่ไม่เป็นการละเมิดกฎระเบียบหรือข้อบังคับของบริษัทก็ไม่สามารถลงโทษพนักงานได้

แล้วจะป้องกันการใช้วันลาป่วยอย่างไม่เหมาะสมอย่างไร

บริษัทจะมีวิธีจัดการกับพนักงานที่ใช้วันลาป่วยอย่างไม่เหมาะสมอย่างไรได้บ้าง

โดยวิธีควบคุมและป้องกันการใช้วันลาป่วยอย่างไม่เหมาะสมนั้นก็มีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน

วิธีแรก คือ กำหนดให้พนักงานที่ลาป่วยต้องส่งหลักฐานการซื้อยาจากร้านขายยา ฯลฯ ภายในสองวัน

ตามกฎหมายแล้ว การลาป่วยติดต่อกันไม่เกินสองวันบริษัทจะไม่สามารถเรียกขอใบรับรองแพทย์ได้ ดังนั้นแล้วหากพนักงานยื่นขอลาป่วยเข้ามาก็อาจทำให้กังวลได้ว่าพนักงานลาเพราะป่วยจริง ๆ หรือลาเพราะป่วยการเมืองกันแน่

ในกรณีนี้หากระบุรายละเอียดของการลาป่วยไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานประมาณว่า “หากพนักงานลาป่วย จำเป็นต้องส่งหลักฐานการซื้อยาให้กับทางบริษัท” ก็จะสามารถป้องกันการลาป่วยการเมืองได้ในระดับหนึ่ง

กลับกันหากไม่มีการกำหนดหรือระบุกฎระเบียบเช่นนี้เอาไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือสัญญาจ้างงาน แล้วมีพนักงานยื่นขอลาป่วยไม่เกินสองวันขึ้นมาทางบริษัทก็จำเป็นต้องอนุมัติการขอลาให้ในทุกกรณี นอกจากนี้การพิสูจน์ว่าพนักงานลาป่วยจริงหรือป่วยการเมืองนั้นก็ทำได้ยากด้วยเช่นกัน

อีกวิธีหนึ่งก็คือ สร้างแรงจูงใจสำหรับพนักงานที่มาทำงานโดยไม่ลาหยุด ตัวอย่างเช่น กำหนดให้มีค่าตอบแทนพิเศษสำหรับพนักงานที่มาทำงานครบทุกวัน ปรับขึ้นเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง หรือให้โบนัสเป็นต้น

ในจุดนี้หากพิจารณาตามกฎหมายแรงงานญี่ปุ่น การปรับลดสวัสดิการ การปรับเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง หรือโบนัสขึ้นอยู่กับการใช้หรือไม่ใช้วันลาหยุดเช่นนี้ อาจถูกมองว่าไม่สมเหตุสมผลและส่งผลเสียได้ แต่สำหรับประเทศไทย การมีข้อกำหนดในลักษณะนี้ถือว่าสมเหตุสมผลซึ่งต่างกับในประเทศญี่ปุ่น

แต่การจะนำวิธีข้างต้นนี้มาใช้จริง จำเป็นต้องกำหนดกฎระเบียบ รวมถึงเงื่อนไขในการลาป่วยให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดระหว่างบริษัทและพนักงาน

เงื่อนไขที่ควรระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับในการทำงาน มี 4 ข้อดังนี้

  • หากใช้วันลาป่วยโดยที่ไม่ได้ป่วยจริง อาจมีการลงโทษ
  • ใบรับรองแพทย์ต้องมาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรอง
  • กรณีที่ลาป่วยติดต่อกันไม่เกิน 2 วัน จะต้องแสดงใบเสร็จซื้อยาจากร้านขายยา
  • พนักงานที่ใช้วันลาป่วย จะไม่ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ (เบี้ยขยัน)

ฟังก์ชันแนะนำจากระบบ KING OF TIME

ในระบบ KING OF TIME สามาถตรวจสอบได้ว่าพนักงานแต่ละคนใช้วันลาป่วย หรือวันลาประเภทอื่น ๆ ไปแล้วกี่วัน

และกรณีที่พนักงานใช้วันลาเกินจำนวนวันที่กำหนด ก็สามารถตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนได้โดยใส่แถบสีดังรูปด้านล่าง

ตัวอย่าง: กรณีพนักงานใช้วันลาป่วย 2 วันขึ้นไปในระยะเวลา 1 เดือน ระบบจะแสดงเป็นสีแดง

นอกเหนือจากตัวอย่างที่แสดงข้อมูลในระยะเลา 1 เดือนแล้ว หากต้องการดูจำนวนวันลาที่ใช้ไปในระยะเวลาครึ่งปี หรือ 1 ปี ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

ในบทความถัดไป เราจะมาพูดถึง “วันลากิจ” กันครับ เงื่อไขหรือข้อกำหนดของวันลากิจที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น และในประเทศไทยเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ฝากติดตามกันไว้ด้วยนะครับ

เขียนและเรียบเรียง
Mr. Sakae Baba
Social Insurance and Labor Consultant in Japan
แปล
Mr. Chanayut Kao-ian